26-29 มิถุนายน 2567

เทคโนโลยีการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอในหลากหลายอุตสาหกรรม

 

• ด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทออย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอขยายตัวครอบคลุมไปในทุกอุตสาหกรรม 

• ปัจจุบันประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว และกระตุ้นโมเดลธุรกิจแบบ BCG ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

หนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมากอย่างอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการจ้างงาน การส่งออกและมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม และถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอกลับฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีการขยายตัวไปสู่วงการอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในอุตสาหกรรม ตั้งแต่จักรปัก จักรเย็บ เครื่องพิมพ์ลายผ้าแบบดิจิทัล ฯลฯ รวมไปถึงวัสดุใหม่ๆ ที่นำมาใช้ ทำให้การผลิตเครื่องนุ่งห่มและส่งทอ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มอีกต่อไป

 

จากข้อมูลการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในปี 2565 มีมูลค่าการส่งออกรวม 6,850.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงปีก่อน โดยตลาดส่งออก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยตลาดผ้าของไทยเป็นตลาดส่งออก 60% ไปยังประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และอีก 40% ขายภายในประเทศ

 

 

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มถือเป็นอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างการผลิตที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันอย่างครบวงจร ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมย่อยต่างๆ ในขั้นตอนการผลิตตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ การผลิตเส้นใย และการปั่นด้าย แล้วจึงส่งผลผลิตที่ได้ต่อไปยังอุตสาหกรรมกลางน้ำ คือ การทอผ้า ถักผ้า ผ้าไม่ถักไม่ทอ (Nonwoven) รวมถึงการฟอกย้อม พิมพ์ และตกแต่งสำเร็จ และขั้นตอนสุดท้าย คือ อุตสาหกรรมปลายน้ำ โดยการนำวัตถุดิบจากขั้นกลางน้ำมาออกแบบ ผลิตเป็นเสื้อผ้ารวมไปถึงผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ

 

ด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้านการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทออย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเรื่องเครื่องจักร จักรปักผ้า จักรเย็บ เครื่องพิมพ์ลายผ้าแบบดิจิทัล ผ้าคุณสมบัติพิเศษ อุปกรณ์เสริม ซอฟต์แวร์ จึงทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอขยายตัวครอบคลุมไปถึงวงการดีไซน์ การออกแบบตกแต่ง บรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เบาะรถยนต์ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เสื้อเกราะกันกระสุน แม้กระทั่งถุงปุ๋ยสำหรับเกษตรกรรม 

 

 

ประกอบกับปัจจุบันประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมสิ่งทอสีเขียวสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นโมเดลธุรกิจแบบ BCG ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์นั้นได้แล้วยังเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ จะนำไปสู่การขยายโอกาสไปยังตลาดอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การพัฒนาวัสดุที่มาจากธรรมชาติเข้าสู่กระบวนการปั่นด้ายในลักษณะเส้นด้ายผสม และนำมาสร้างสรรค์เป็นกระดาษบรรจุภัณฑ์ ชุดตกแต่งโต๊ะอาหาร หรือหัตถกรรม ฯลฯ

 

สำหรับใครที่สนใจเทคโนโลยีเครื่องจักร เครื่องมือที่ทันสมัย รวมถึงบริการการผลิตเครื่องนุ่มห่มและสิ่งทอที่ครบครันและตอบโจทย์ความต้องการครอบคลุมหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่จักรปัก จักรเย็บ เครื่องพิมพ์ลายผ้าแบบดิจิทัล ผ้าคุณสมบัติพิเศษ อุปกรณ์เสริม ซอฟต์แวร์ ไปจนถึงผู้รับผลิตเสื้อผ้าโดยผู้ให้บริการที่หลากหลายจากทั้งในและต่างประเทศ ต้องมาที่งานนี้  GFT 2023 หรืองานแสดงเทคโนโลยีการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ครอบคลุมที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 23 ณ ไบเทค บางนา วันที่ 21-24 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น.

 

แหล่งอ้างอิง

 

• นวัตกรรมอุตสาหกรรมสิ่งทอสีเขียว (Eco-Industrial Innovative Textiles)

http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view3.php?section=32&issues=23

• สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนธันวาคม 2565

https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.3379.1.0.html

• โรงงานทอผ้าไทย ปี’65 ฟื้น เปิดประเทศหนุน-ออร์เดอร์ล่วงหน้าพุ่ง

https://www.prachachat.net/economy/news-908601