26-29 มิถุนายน 2567

แรงกระเพื่อมจากลูกค้าและดีไซเนอร์รุ่นใหม่ในโลกแฟชั่น

 

• ประเด็นต่างๆ ในโลกยุคใหม่ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย และความเท่าเทียมล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการตัดสินใจต่อสิ่งๆ หนึ่ง และสิ่งนั้นก็หนีไม่พ้นอุตสาหกรรมแฟชั่น

• ตลาดในปัจจุบันนั้นมีลูกค้าเป็นคนเจนใหม่มากกว่า 40% ลูกค้าเจนใหม่เกิดมาในยุคนี้พร้อมกับคลื่นที่เรียกว่าความหลากหลาย คนเจนใหม่มองคุณค่าและความชอบของตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ หากแบรนด์ไหนไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนเจนใหม่ได้มักจะถูกเมินเฉย

 

 

ถ้าพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งในโลกปัจจุบัน คงจะตกตะลึงกับเสื้อผ้าที่ประชาชนในฝรั่งเศสสวมใส่ เช่นกันหากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ได้เห็นเสื้อผ้าของคนในยุคปัจจุบันก็คงมีปฏิกิริยาไม่ต่างกัน แน่นอน ทุกคนรู้ดีว่านิยามของแฟชั่นในอดีตและปัจจุบันนั้นแตกต่างกันมาก สิ่งที่ผู้คนในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหรานั้นต่างจากค่านิยมในปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แล้วเหตุใดจึงเกิดความเปลี่ยนแปลงนี้? สาเหตุที่ชัดเจนที่สุดก็คือค่านิยมและมุมมองของผู้คนในยุคปัจจุบัน

 

ปัจจุบัน เราอยู่กับโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เรียกว่าโควิด–19 ปัญหาสิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย และความเท่าเทียม ก่อนที่พระเจ้าหลุยส์และราชินีเอลิซาเบธที่ 1 จะเถียงเรื่องความหรูหรากับคนของตัวเอง คงโดนคนเจนใหม่ขอให้ใส่แมสก่อน ถ้าพระเจ้าหลุยส์และราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ใส่ของที่ต้นทุนทำให้โลกเราพังเร็วขึ้น คงโดนคนเจนใหม่วิจารณ์ว่าทำให้โลกตายเร็วขึ้น จากตัวอย่างจะเห็นว่าประเด็นต่างๆ ในโลกยุคใหม่ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการตัดสินใจต่อสิ่งๆ หนึ่ง และสิ่งนั้นก็หนีไม่พ้นอุตสาหกรรมแฟชั่น

 

 

ในเวลานี้ ตลาดในปัจจุบันนั้นมีลูกค้าเป็นคนเจนใหม่มากกว่า 40% ในมุมมองของเรื่องเศรษฐกิจคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ลูกค้าเจนใหม่มีอิทธิพลต่อแบรนด์ต่างๆ มากขนาดไหน ลูกค้าเจนใหม่เกิดมาในยุคนี้พร้อมกับคลื่นที่เรียกว่าความหลากหลาย คนเจนใหม่มองคุณค่าและความชอบของตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ หากแบรนด์ไหนไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนเจนใหม่ได้มักจะถูกเมินเฉย หลายแบรนด์จึงต้องรับมือกับความท้าทายใหม่ประจำยุคนี้ นั้นคือการออกแบบสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเจนใหม่ได้

 

โดยหลายแบรนด์ก็มีโจทย์เป็นของตัวเองและหาวิธีแก้ปัญหานี้ในสไตล์ของตัวเอง เช่น เมื่อปี 2018 แบรนด์ H&M ได้ออกเสื้อชุด PRIDE สำหรับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBT+ หรือบริษัทแฟชั่น Balenciaga ได้ไปเป็นพาร์ทเนอร์กับ World Food Programme ซึ่งมากับคอนเซปต์ของ “Saving Lives, Changing Lives” ที่ส่งเสริมให้คนสนใจถึงปัญหาของความขาดแคลนอาหารของคนบางกลุ่ม และสุดท้ายบริษัทแฟชั่น Moschino ที่เปลี่ยนมาใช้โมเดลผิวสีในการโปรโมทเสื้อผ้าของตัวเอง การที่ทั้ง 3 แบรนด์นี้ปรับตัวนั้นเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะแบรนด์ที่ไม่ปรับตัวอะไรเลยมักจะเสียโอกาสด้านธุรกิจกว่าแบรนด์ที่ปรับตัว

 

 

สุดท้ายจะเห็นว่า ความคิดของคนเจนใหม่มีอิทธิพลต่อโลกแฟชั่น หากแบรนด์อย่าง H&M ไม่ปรับตัว คงเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งที่ปรับตัวอย่าง Balenciaga อย่างไรก็ดี นอกจากเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจแล้ว ถ้าเราสังเกตุเสื้อผ้าในยุคใหม่ จะเห็นได้ว่าเสื้อผ้ามาในธีมที่เกี่ยวกับความสบายและไม่มีความเติมแต่งกับเสื้อผ้าเยอะเท่าเสื้อผ้าสมัยพระเจ้าหลุยส์หรือพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอ แม้เสื้อผ้ายุคใหม่จะมีแต่ความสบาย แต่ส่วนมากมันมักจะแฝงไปด้วยเรื่องเล่าหรืออะไรที่มีคุณค่าซ่อนอยู่

 

แหล่งอ้างอิง