26-29 มิถุนายน 2567

แฟชั่นมีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร

 

• ความสนุกกับการซื้อเสื้อผ้า Fast Fashion ราคาถูกหลายๆ ตัว แต่ใส่ไม่กี่ครั้งในชีวิตจริง หรือการซื้อเสื้อผ้าใหม่ตามเทรนด์ทุกครั้งจนเสื้อผ้าล้นตู้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โลกของเราตกอยู่ในภาวะโลกร้อน

• หากคุณลงทุนในเสื้อผ้าคุณภาพสูง โดยสวมใส่บ่อยขึ้นหรือใส่ต่อเนื่องเป็นระยะนาน อาจลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ถึง 20-30%

• เสื้อผ้าที่หมดอายุการใช้งาน ก็มีการนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบหรือเผาเป็นเถ้าถ่าน ทำให้เกิดการปล่อยมลพิษต่ออากาศที่มากขึ้น

• สีย้อมผ้าก็สามารถสร้างมลพิษให้กับแหล่งน้ำ ส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและน้ำดื่มของประชากรทั่วไปได้

• ปัญหาโลกร้อนเป็นความรับผิดชอบของทุกๆ อุตสาหกรรม จากกรณีการผลิตกางเกงยีนส์ ก็ทำให้ผู้ผลิตต่างๆ กำลังพัฒนาวิธีการรีไซเคิลผ้ายีนส์ หรือแม้แต่ยีนส์ที่จะย่อยสลายภายในเวลาไม่กี่เดือนเมื่อนำไปทำปุ๋ยหมัก

 

 

รู้หรือไม่ว่า… ความสนุกกับการซื้อเสื้อผ้า Fast Fashion ราคาถูกหลายๆ ตัว แต่ใส่ไม่กี่ครั้งในชีวิตจริง หรือการซื้อเสื้อผ้าใหม่ตามเทรนด์ทุกครั้งจนเสื้อผ้าล้นตู้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โลกของเราตกอยู่ในภาวะโลกร้อน ซึ่งประโยคที่ว่า “จำนวนครั้งที่คุณสวมเสื้อผ้าสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวม” นับว่าช่วยเตือนใจหลายๆ คนได้ทีเดียว และถ้าหากคุณลงทุนในเสื้อผ้าคุณภาพสูง โดยสวมใส่บ่อยขึ้นหรือใส่ต่อเนื่องเป็นระยะนานก็อาจลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ถึง 20-30% หรือแก้ไขซ่อมแซมรอยตำหนิเล็กๆ บนเสื้อผ้าแทนข้ออ้างที่จะซื้อเพิ่ม รวมถึงการสลับเสื้อผ้าสวมใส่กับเพื่อนๆ เพื่อรีเฟรชตู้เสื้อผ้าของตนเอง ก็ถือเป็นเรื่องราวดีๆ ที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อน หรือลดคาร์บอนฟุตพริ้นต์ (carbon footprint) ของเสื้อผ้าได้ ได้ส่วนหนึ่งเลยล่ะ

 

คำว่า “อุตสาหกรรมแฟชั่น” กับ “โลกร้อน” หากมองผิวเผินก็อาจจะคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกัน แต่แท้จริงแล้วอุตสาหกรรมแฟชั่นมีส่วนสำคัญในการทำให้โลกร้อนขึ้นโดยตรงทีเดียว ซึ่งข้อมูลจาก BCC เผยว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นมีสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนประมาณ 8-10% ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก และน้ำเสียราว 20% มากกว่าอุตสาหกรรมการบินและการขนส่งรวมกันเสียอีก ขณะเดียวกัน เสื้อผ้าที่หมดอายุการใช้งาน ก็มีการนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบหรือเผาเป็นเถ้าถ่าน ทำให้เกิดการปล่อยมลพิษต่ออากาศที่มากขึ้น

 

อีกทั้งขั้นตอนการผลิตเสื้อผ้าก็ส่งผลให้ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ยกตัวอย่างผ้ายีนส์ หรือกางเกงยีนส์ 1 ตัว ต้องใช้ผ้าฝ้าย 1 กิโลกรัม ซึ่งฝ้ายปลูกในสภาพแวดล้อมที่แห้ง การผลิต 1 กิโลกรัมต้องใช้น้ำประมาณ 7,500 – 10,000 ลิตร นั่นคือ ค่าน้ำดื่มประมาณ 10 ปี สำหรับคน 1 คนเลยทีเดียว หรือแม้แต่สีย้อมผ้าก็สามารถสร้างมลพิษให้กับแหล่งน้ำ ส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและน้ำดื่มของประชากรทั่วไปได้

 

แล้วแฟชั่นมีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไรบ้างล่ะ?

 

แน่นอนว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นความรับผิดชอบของทุกๆ อุตสาหกรรม จากกรณีการผลิตกางเกงยีนส์ ก็ทำให้ผู้ผลิตต่างๆ กำลังพัฒนาวิธีการรีไซเคิลผ้ายีนส์ หรือแม้แต่ยีนส์ที่จะย่อยสลายภายในเวลาไม่กี่เดือนเมื่อนำไปทำปุ๋ยหมัก รวมถึงในโลกดิจิทัลก็มีคิดค้นนวัตกรรมจำนวนมากในการผลิตผ้า เช่น Biocouture หรือแฟชั่นที่ทำจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งนวัตกรรมด้านนี้ก็กำลังขยายความนิยมอย่างแพร่หลาย บางองค์กรหรือบางผู้ผลิตต้องการใช้เศษไม้ ผลไม้ และวัสดุธรรมชาติอื่นๆ มาทำสิ่งทอ หรือกำลังทดลองใช้วิธีอื่นในการย้อมผ้า ค้นหาวัสดุที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่ายขึ้นหลังทิ้งไป

 

ติดตามเรื่องราวน่าสนใจ เทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มเติมได้ที่งาน GFT 2022 ในวันที่ 22-25 มิถุนายน 2565 ณ ไบเทค บางนา

 

แหล่งอ้างอิง