26-29 มิถุนายน 2567

บทบาทของสิ่งทอในภาคอุตสาหกรรมไทย

 

• คาดว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมสิ่งทอในวงการอื่นๆ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกในกลุ่มสิ่งทอของไทยขยายตัวทั้งในระยะกลางและระยะยาว

• ประเทศไทยมีโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีกระบวนการผลิตครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จึงเป็นอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งและมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง

 

 

ผลิตภัณฑ์สิ่งทอเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งในการทำเครื่องนุ่งห่มเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ไปจนถึงการตกแต่งภายในบ้านหรืออาคารเพื่อให้เกิดความสวยงาม นอกจากนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นของตกแต่งหรือของใช้ เช่น ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน พรม ผ้าม่าน และผ้าบุเก้าอี้หรือโซฟา รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น

 

จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมสิ่งทอในวงการอื่นๆ ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกในกลุ่มสิ่งทอของไทยขยายตัวทั้งในระยะกลางและระยะยาว ดังนั้นสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Functional Textile) จึงเป็นนวัตกรรมด้านสิ่งทอที่เปิดบริบทใหม่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมไทย  

 

 

สิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีคุณสมบัติและรูปแบบเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน มากกว่าการใช้งานเพื่อความสวยงามหรือเพื่อการตกแต่งเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น สิ่งทอเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ (Mobiltech) อันได้แก่ ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ผ้าหุ้มเบาะ ฯลฯ ซึ่งใช้ทั้งนวัตกรรมเรื่องผ้าชนิดพิเศษและพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจจับการชนของถุงลมนิรภัย ในส่วนสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตรก็มีสินค้าเด่น เช่น ผ้าคลุมหน้าดิน ถุงใส่ดิน ถุงปุ๋ย ผ้าใยสังเคราะห์ ถุงผลไม้  ผ้าคลุมเก็บความชื้นในดิน ฯลฯ  ด้านสิ่งทอเทคนิคเพื่อการตกแต่งภายในหรือสถาปัตยกรรม (เคหะสิ่งทอ) ก็มีตัวอย่างเช่น ผ้าใบสำหรับงานโครงสร้างรับแรงดึง ผ้าสำหรับการจัดงานนิทรรศการ โดยสินค้าเคหะสิ่งทอนับเป็นอีกธุรกิจสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นผ้าม่าน โซฟา หมอนอิง ผ้ากันเปื้อน และของตกแต่งบ้านอื่นๆ มีการคาดการณ์ในปี 2564 ว่าอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) และมูลค่าการส่งออกตั้งแต่มกราคม – ธันวาคม 2564 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 205.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  นอกจากนี้ สิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษยังเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยมีการนำมาผลิตถุงผ้า ของที่ระลึก ถุงใส่เต็นท์ ถุงใส่สูท ถุงใส่รองเท้า ถุงบรรจุภัณฑ์ ถุงไปรษณีย์ ฯลฯ พร้อมแนวโน้มการผลิตที่มากขึ้นด้วย

 

 

จากสัดส่วนของปริมาณสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษในตลาดโลก พบว่า สิ่งทอด้านยานยนต์และด้านบรรจุภัณฑ์มีสัดส่วนสูงสุด รองลงมาคือสิ่งทอด้านครัวเรือนและด้านอุตสาหกรรม ตามมาด้วยสิ่งทอด้านการก่อสร้างและการแพทย์ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจึงมีความสำคัญอย่างมากทั้งใน ปัจจัยพื้นฐานของชีวิตและในเชิงพาณิชย์ของโลกยุคใหม่ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีกระบวนการผลิตครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จึงเป็นอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งและมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง และสินค้าที่ผลิตได้ก็มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น 

 

หากท่านสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอหรือสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ ห้ามพลาดงาน GFT 2023 งานแสดงเทคโนโลยีการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ครอบคลุมที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. ณ ไบเทค บางนา โดยในงานจะมีนวัตกรรมการผลิตสิ่งทอมากมาย รวมถึงผู้ให้บริการด้านการผลิตสิ่งทอจากจีน ฮ่องกง เกาหลี และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เป็นต้น แล้วยังเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่ต้องการมีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง ในการได้ค้นหาพันธมิตรธุรกิจและซัพพลายเออร์ที่ตรงใจอีกด้วย

 

 

แหล่งอ้างอิง

 

• สินค้าเคหะสิ่งทอ

https://www.ditp.go.th/contents_attach/761319/761319.pdf

• เร่งพัฒนาสิ่งทอเทคนิครองรับตลาดโลก

https://news.ch7.com/detail/515539

• การยกระดับการผลิตเป็นสิ่งทอเทคนิคขึ้นอยู่กับหลายเงื่อนไข

https://thaitextile.org/th/insign/detail.154.1.0.html

• Fabrics in Interiors: Creative Possibilities as Architectural Elements

https://www.archdaily.com/975199/fabrics-in-interiors-creative-possibilities-as-architectural-elements